Q&A โซล่าเซลล์

โซล่าเซลล์ ช่วยประหยัดค่าไฟได้จริงหรือไม่ ?

  การติดตั้งโซล่าเซลล์สามารถช่วยประหยัดค่าไฟได้จริง ขึ้นอยู่กับขนาดของแผงที่ติดตั้งและกำลังการผลิตไฟฟ้า โซล่าเซลล์สามารถแปลงเป็นไฟฟ้าไว้ใช้ในช่วงเวลากลางวัน ช่วยลดค่าไฟได้สูงถึง 40% ต่อเดือน

ระบบโซล่าเซลล์ ประกอบด้วยอะไรบ้าง ?

ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ประกอบด้วยอุปกรณ์หลัก ดังนี้ แผงโซล่าเซลล์ (Solar Panel), เครื่องแปลงประแสไฟฟ้า (Inverter),ระบบตรวจสอบกำลังการผลิต(Monitoring), ตู้ควบคุมระบบป้องกันทางไฟฟ้า กันฟ้าผ่า (Control Box), สายไฟและท่อร้อยสายไฟ (Wiring), มิเตอร์ไฟฟ้า (Meter)

ระบบ Off Grid และ On Grid คืออะไร ?

On grid เป็นระบบผลิตไฟฟ้าโซล่าที่ยังต่อเข้ากับระบบส่งหรือจำหน่ายของการไฟฟ้า เนื่องมาจากการที่ระบบผลิตไฟฟ้าฯ ต้องขายไฟฟ้าเข้าระบบไฟฟ้า เช่น โรงไฟฟ้าขนาดเล็ก (Small Power Producer: SPP) หรือ โรงไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (Very Small Power Producer: VSPP) หรือ เนื่องมาจากสถานที่ที่ติดตั้งระบบผลิตฯ แบบนี้สามารถเข้าถึงไฟฟ้าได้ แต่ต้องการลดค่าไฟฟ้า จึงตัดสินใจติตดั้งระบบผลิตไฟฟ้าโซล่า

Off grid หรือ Standalone คือ ระบบผลิตไฟฟ้าโซล่าที่ไม่ได้ต่อเข้ากับระบบส่งหรือจำหน่ายของการไฟฟ้า ส่วนใหญ่สถานที่ที่ใช้ระบบดังกล่าวจะเป็นพื้นที่ที่ห่างไกล เช่น บนเกาะ บนภูเขา ซึ่งไฟฟ้ามักจะเข้าไม่ถึง เนื่องมาจากการสร้างระบบส่งไม่คุ้มค่าในการลงทุน ทั้งนี้ ระบบ Off grid อาจมีอุปกรณ์เสริม เช่น Battery เพื่อเก็บไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโซล่าในช่วงกลางวันมาใช้ในช่วงกลางคืน

อายุการใช้งานของแผง อยู่ได้นานกี่ปี ?

โดยทั่วไป แผงโซล่าเซลล์มีการรับประกันจากผู้ผลิตว่าสามารถใช้งานได้ถึง 25 ปี โดยประสิทธิภาพไม่ต่ำกว่า 80% ส่วนแผงโซล่าเซลล์ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 25 ปีเป็นต้นไป ประสิทธิภาพจะลดลงตามอายุการใช้งานและการบำรุงรักษา

ตำแหน่งใดเหมาะสมที่สุด สำหรับการติดตั้งโซล่าเซลล์ ?

เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด ควรหันแผงไปทางทิศใต้ มุมเอียง 10-15 องศา หากไม่มีความจำเป็นควรหลีกเลี่ยงการหันแผงไปทางทิศเหนือ และควรติดตั้งแผงในจุดที่ไม่มีร่มเงาต้นไม้ หรือสิ่งก่อสร้างบัง

เราเก็บไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ ไว้ใช้ตอนกลางคืนได้หรือไม่ อย่างไร ?

ด้วยเทคโนโลยีตอนนี้ เราสามารถใช้แบตเตอรี่เก็บพลังงานไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ไว้ใช้ตอนกลางคืนได้ ทั้งนี้ ในกรณีที่ต้องการติดตั้งระบบที่พึ่งพาตัวเอง 100% ก็ต้องติดตั้งแผงโซล่ามากขึ้น เพื่อให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้เพียงพอต่อความต้องการ โดยกักเก็บไฟไว้ในแบตเตอรรี่ที่มีขนาดใหญ่พอ เหมือนถ้าเราเป็นคนใช้มือถือหนักมาก และต้องการใช้งานทั้งวัน ก็ต้องใช้พาวเวอร์แบงค์ขนาดใหญ่ อย่างไรก็ดี ราคาแบตเตอรี่สำหรับเก็บไฟฟ้าขนาดใหญ่ยังมีราคาสูงมากอยู่

ติดตั้งโซล่าเซลล์ ขนาดเท่าไร ถึงจะคุ้ม ?

ขนาดของโซล่าเซลล์ตามท้องตลาดที่นิยมติดกันอยู่ที่ประมาณ 3 kWp ขึ้นไป และเพื่อความคุ้มค่าในการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ควรติดตั้งขนาดของระบบไม่สูงไปกว่าค่าความต้องการกำลังไฟฟ้าฐานในช่วงกลางวัน (Base Load) เพราะจะทำให้ผู้ติดตั้งสามารถใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ การติดตั้งระบบโซล่าเซลล์จะมีต้นทุนคงที่ เช่น ค่าแรงติดตั้งระบบ เป็นต้น ซึ่งต้นทุนดังกล่าวไม่แปรตามขนาด ดังนั้น ขนาดโซล่าเซลล์ต่ำกว่า 3 kWp ก็ติดตั้งได้เช่นกัน แต่ต้นทุนเฉลี่ยต่อ kWp ก็จะสูงขึ้น

โซล่าเซลล์สามารถติดตั้ง แล้วทำการขายไฟให้กับรัฐบาลได้หรือ ?

ปัจจุบัน ภาครัฐมีนโยบายรับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินจากการใช้งานจากประเภทที่อยู่อาศัย ที่มีกำลังติดตั้งไม่เกิน 5 กิโลวัตต์ขึ้นไป

แผงโซล่าเซลล์ Tier 1 (update Q2-2022) คืออะไร ? 

แผงโซล่าเซลล์Tier1 การเลือกซื้อแผงโซล่าเซลล์จากผู้ผลิตแต่ละรายนั้นคล้ายกันกับการเลือกซื้อรถยนต์ ในหนึ่งยี่ห้อผู้ผลิตแผงโซลล่าเซลล์อาจจะมีแผงโซล่าเซลล์หลายๆ รุ่นจำน่าย ซึ่งแต่ละรุ่นก็จะมีข้อดีที่แตกต่างกันไป (เช่นเดียวกับผู้ผลิตรถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า ก็มีรถรุ่นแคมรี่ หรือ ฟอร์จูนเนอร์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการใช้งานที่แตกต่างกันไป)  

ปัจจุบันในวงการอุตสาหกรรมผู้ผลิตแผงโซล่าเซลล์ ได้มีรายงานการจัดลำดับผู้ผลิตแผงโซล่าเซลล์ที่ได้รับการยอมรับเป็นอย่างสูง ได้แก่ Bloomberg Module Tiering List หรือ the PV Moduletech Bankability Report ซึ่งเป็นการประเมินสถานะทางการเงินของบริษัทผู้ผลิต โดยมักจะถูกใช้โดยนักลงทุน หรือผู้ให้สินเชื่อ เมื่อต้องพิจารณาการลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าโซล่าเซลล์ขนาดใหญ่ๆ





 

แผงโซล่าเซลล์ Tier 1 คืออะไร ทำไมถึงเหมาะกับติดตั้ง Solar Rooftop ?

แผงโซล่าเซลล์นั้นจะถูกแบ่งประเภทไปตามคุณภาพของเซลล์ และขบวนการขั้นตอนการผลิต หากแผงนั้นได้ถูกผลิตขึ้นจากผู้ผลิตที่มีโรงงานน่าชื่อถือ รวมไปถึงมีการจดทะเบียนแบรนด์เป็นของตัวเองก็จะได้ถือครองผู้ผลิตแผงโซล่าเซลล์ที่มีมาตรฐานสูงสุด สามารถมั่นใจได้ว่านอกเหนือจากประสิทธิภาพตามกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานแล้ว หากอนาคตเกิดปัญหากับแผงโซล่าเซลล์ในระยะยาวจะยังมีผู้ผลิตที่คอยดูแลและบำรุงรักษาให้ตลอดอายุที่รับประกันอย่างแน่นอน


 

เรื่องที่คนทั่วไปเข้าใจผิดเกี่ยวแผงโซล่าเซลล์ Tier 1 ?

ความเข้าใจที่ผิดพลาดของคนส่วนใหญ่เกี่ยวกับแผงโซล่าเซลล์ Tier 1 มี4ข้อดังนี้

  1. ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับแผงโซล่าเซลล์ Tier 1 – เนื่องจากการจัดลำดับของ Bloomberg New Energy Finance Report or the PV Moduletech Bankability Ratings Quarterly Report เป็นการจัดลำดับของผู้ผลิตแผงโซล่าเซลล์
  2. แต่ผู้ผลิตที่ไม่อยู่ใน Tier 1 ไม่ได้แปลว่าจะผลิตสินค้าไม่ดี – ผู้ผลิตแผงโซล่าเซลล์ที่มีนวัตกรรมหรือเป็นที่ยอมรับมากที่สุดบางรายทั่วโลกไม่อยู่ในรายงานการจัดลำดับ Tier 1 อาทิเช่น Panasonic, Solaria, Winaico, Solarwatt, Meyer Burger, Peimar, Tindo, Aleo หรือแม้แต่ Tesla ที่มีชื่อเสียงในอุตสาหกรรมที่โดดเด่นก็ไม่ได้ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Tier 1 แต่อย่างใด
  3. Tier 1 ไม่ได้เป็นเครื่องหมายแสดงถึงคุณภาพของแผงโซล่าเซลล์ – ตามที่กล่าวมาก่อนนี้ว่า Tier 1 เป็นการจัดลำดับของบริษัทที่เป็นผู้ผลิตแผงโซล่าเซลล์ ซึ่งแต่ละผู้ผลิตก็จะมีแผงโซล่าเซลล์หลายรุ่น หลายระดับคุณภาพ และประสิทธิภาพให้เลือก (เปรียบเทียบเช่นเดียวกับบริษัทรถยนต์ ที่มีรุ่นรถให้เลือกตั้งแต่รถระดับพรีเมี่ยม ไปจนถึงรถระดับเริ่มต้น ซึ่งก็จะมีมาตรฐานที่แตกต่างกันในแต่ละระดับเช่นกัน) ดังนั้นการเลือกแผงโซล่าเซลล์จึงไม่เพียงแต่พิจารณาผู้ผลิตที่เป็น Tier – 1 เท่านั้น หากแต่ต้องพิจารณาลงไปถึงรุ่นของแผงโซล่าเซลล์ด้วย
  4. Tier 1 ไม่ได้เป็นสถานะการรับรองที่คงอยู่กับแผงตลอดไป – เนื่องจากการประเมินสถานะของบริษัทผู้ผลิต Tier 1 จะมีการประเมินใหม่ทุกไตรมาส (ตามสถานะทางการเงินของบริษัท) ทำให้ Tier 1 ไม่ได้เป็นคุณสมบัติหรือสถานะที่จะคงอยู่กับแผงโซลล่าเซลล์ตลอดไป


 

การเสื่อมสภาพของแผงโซล่าเซลล์ มีสาเหตุเกิดจากอะไรบ้าง ?

5 สาเหตุหลักของการเสื่อมสภาพของแผงโซล่าเซลล์

  1. LID – Light Induced Degradation – ทำให้ประสิทธิภาพของแผงลดลง 25% ถึง 0.7% ต่อปี
  2. PID – Potential Induced Degradation – ทำให้ประสิทธิภาพลดลงในระยะยาวเนื่องจากแรงดันไฟฟ้ารั่วไหล
  3. General Degradation – ความเสื่อมสภาพของแผงเนื่องจากน้ำและความชื้น
  4. LeTID – Light and elevated Temperature Induced Degradation – ทำให้ประสิทธิภาพของแผงลดลง 3%ถึง 6% ในทันทีเมื่อแผงเกิดความเสื่อมสภาพ
  5. Micro-cracks and hot spots – ความเสียหายที่เกิดขึ้นเนื่องจากเกิดรอยแตกขนาดเล็กในเซลล์แสงอาทิตย์


 

My Energy MEA การขอออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคา (Solar Rooftop) ปี 2564 สำหรับการไฟฟ้านครหลวง ?

ด้วยความจำเป็นของสถานการณ์โควิด 19 ที่กำลังระบาดหนักในช่วงนี้ การไฟฟ้านครหลวงได้ปรับเปลี่ยนระบบให้พนักกงาน WFH มากขึ้น (บางท่านถึงกับยกคอมพิวเตอร์ไปไว้ที่บ้าน)  เพื่อการบริการอย่างต่อเนื่องไม่มีสะดุดและปลอดภัยจากโควิด ทั้งเจ้าหน้าที่การไฟฟ้านครหลวงและลูกค้าที่มาติดต่อ

จากเดิมนั้นการไฟฟ้านครหลวงได้เปิดให้ผู้ใช้ได้ขอรับบริการขายไฟในโครงการโซล่าเซลล์ภาคประชาชนอัปโหลดเอกสารผ่านเว็ปไซต์ https://spv.mea.or.th/ 


 

โซล่าเซลล์ภาคประชาชน 'เพิ่มราคารับซื้อไฟเป็น 2.20 บาทต่อหน่วย ?

กพช. อนุมัติเพิ่มราคาซื้อไฟโซล่าเซลล์บนหลังคา เป็น 2.20บาทต่อหน่วยจากราคารับซื้อเดิม 1.68 บาทต่อหน่วย เพื่อจูงใจให้ประชาชนเข้าร่วมโครงการมากขึ้นพร้อมขยายผลการรับซื้อสู่โรงเรียน โรงพยาบาล เป็นโครงการนำร่อง ที่ราคารับซื้อไฟฟ้าส่วนเกิน 1 บาทต่อหน่วย เข้าระบบในปี 2564 คาดสามารถสร้างการลงทุนได้กว่า 3,000 ล้านบาท


 

ระบบไฟฟ้าโซล่าเซลล์ และระบบไฟฟ้าทั่วไป ต่างกันอย่างไร ?

ระบบไฟฟ้าที่ใช้ตามบ้าน และ โรงงานโดยทั่วไปจะเป็นระบบกระแสสลับ แรงดันของไฟฟ้า อยู่ที่ 220 โวลท์ และ 380 โวลท์ แต่ถ้าเป็นโซล่าเซลล์จะเป็นระบบไฟฟ้ากระแสตรง ที่มีแรงดันของไฟฟ้าค่อนข้างสูง ประมาณ 500 ถึง 1000 โวลท์ แล้วจึงแปลงไฟฟ้ากระแสสลับสำหรับใช้งานต่อไป มากไปกว่านั้นเมื่อมีเครื่องกำเนิดพลังงานแล้วกระแสของไฟฟ้าจะไหลได้ทั้งสองทิศทาง คือ จากการไฟฟ้าเข้ามีที่ตัวบ้าน และ ถ้าผลิตไฟฟ้ามากกว่าที่ต้องการไฟฟ้าที่ได้จากโซล่าเซลล์อาจจะไหลย้อนออกไปก็เป็นได้




 

ติดตั้งโซล่าเซลล์ มีประโยชน์อะไร ?

  1. รักษาสิ่งแวดล้อม โซล่าเซลล์เป็นพลังงานสะอาดที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ว่ากันว่าการผลิตไฟฟ้า 1 kWh (1 หน่วย) ด้วยน้ำมันเชื้อเพลิงจะมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 200 กรัม ตรงกันข้าม การผลิตกระแสไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์นั้นไม่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เนื่องจากไม่มีของเสียออกจากกระบวนการผลิต
  2. การลงทุนความเสี่ยงต่ำ การลงทุนจากโซล่าเซลล์นั้นมีความเสี่ยงต่ำเนื่องจากปัจจัยที่ทำให้ไม่เป็นไปตามการลงทุนมีน้อย เช่น ต้นทุนผันแปรไม่มีเนื่องจากใช้แสงแดดในการผลิตกระแสไฟฟ้า และ  ค่าดูแลรักษาก็เพียงแค่ตรวจสอบการทำงาน และ การล้างแผ่นให้สะอาด เป็นต้น นอกจากนี้อยากที่รู้กันว่า ค่าไฟฟ้านั้นมีโอกาสขึ้นทุกปีซึ่งทำให้การลงทุนนั้นมีความเสี่ยงต่ำด้านผลตอบแทนที่ได้จากการติดตั้งอีกด้วย
  3. คืนทุนไว ผลตอบแทนสูง โดยเมื่อติดตั้งเสร็จแล้วจะประหยัดค่าไฟฟ้าได้ทันที และสามารถผลิตยาวนานถึงในระยะยาวถึง 25 ปี โดยปัจจุบันนี้การลงทุนนั้นถูกลงมากทำให้การคืนทุนเพียง 5-8 ปีเท่านั้น และ ถ้าหากบางกิจการมีโครงการที่รัฐบาลสนับสนุน เช่น การลดภาษีจาก BOI อาจจะคืนทุนได้เร็วขึ้นที่ 3-5 ปี
  4. สามารถขายไฟฟ้าคืนให้ภาครัฐ ปัจจุบันทางรัฐบาลได้รับซื้อไฟฟ้าจากโครงการโซล่าภาคประชาชนปี 2562  (โครงการนี้ต่ออายุแล้ว ซึ่งทางรัฐบาลขยายเวลาจนถึงสิ้นปี 2563 ) โดยเราสามารถขายไฟฟ้าที่เหลือใช้ให้กับทางรัฐบาลได้ในราคาหน่วยละ 1.68 บาท
  5. ผลิตไฟฟ้าจากแสงแดดได้ทุกวันเมื่อมีแสงแดด พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานทดแทนประเภทหนึ่งที่สามารถใช้ได้เรื่อยๆ ไม่มีวันหมด ปราศจากมลพิษ และเป็นพลังงานที่มีศักยภาพสูง  สามารถใช้มากแค่ไหนก็ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรอื่นๆ บนโลก
  6. การติดตั้งโซล่าเซลล์ทำได้ง่าย แม้ว่าจะต้องขออนุญาตถึงสามหน่วยงาน (การไฟฟ้า สำนักงานกำกับกิจการพลังงาน และ ส่วนท้องถิ่น) แต่การติดตั้งโซล่าเซลล์นั้นไม่ซับซ้อน โดยสามารถใช้คนไม่กี่คนในการติดตั้งโซล่าเซลล์ได้

 

การขอ BOI สำหรับโซล่าเซลล์ ทำอย่างไร และ มีสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง ?

การขอ BOI สำหรับโซล่าเซลล์ โดยการติดต่อ BOI โดยตรง เดี๋ยวนี้ BOI สามารถขอแบบยื่นออนไลน์ได้ แต่ประเภทที่สอง กรอกแบบฟอร์มแล้วไปยื่นด้วยตัวเอง เมื่อยื่นเสร็จจะไปเข้าลิสแล้วทางเจ้าหน้าที่ BOI จะติดต่อมาให้เราไปชี้แจงโครงการเพื่อเตรียมประกอบการอนุมัติโครงการโดยบอร์ด BOI เรามีหน้าที่เข้าไปชี้แจงกับเจ้าหน้าที่ ว่ากิจการดั้งเดิมของเราเป็นกิจการอะไร BOI ให้การสนับสนุนหรือเปล่า แล้วเราติดตั้งโซล่าเซลล์เท่าไหร่ แล้วจะขอสิทธิประโยชน์อะไร หลังจากชี้แจงแล้ว เจ้าหน้าที่จะรับเรื่องแล้วไปเข้าที่ประชุมของบอร์ด BOI ซึ่งทางเจ้าของกิจการต้องเข้าไปชี้แจงเรื่องกิจการของตัวเอง

 

BOI สำหรับโซล่าเซลล์ มีสิทธิประโยชน์ เป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้ผู้ติดตั้งได้สิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น การลดภาษีเงินได้นิติบุคคล หรือ ภาษีนำเข้าอุปกรณ์ติดตั้ง ซึ่งโดยปกติแล้วจะทำได้ 2 รูปแบบด้วยกัน คือ

  • รูปแบบที่ 1 การจัดตั้งบริษัทซื้อ-ขายไฟฟ้า โดยจะต้องจัดตั้งบริษัทผลิตไฟฟ้าเพื่อขายไฟฟ้าให้กับบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน หรือ บริษัทอื่นๆ โดยรูปแบบนี้จะมีการได้สิทธิเรื่อง การยกเว้นภาษีอากรขาเข้าเครื่องจักร หรือ อุปกรณ์ และ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไปอีก 8 ปี ตัวอย่างเช่น จัดตั้งนิติบุคล ก มาขายไฟให้นิติบุคคล ข โดยที่ทั้งสองนิติบุคคลมีการซื้อขายไฟกัน คนที่ลงทุนกาติดตั้งโซล่าเซลล์จะได้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และ ยกเว้นภาษีอากรขาเข้าเครื่องจักร การแยกเป็นสองบริษัท หรือ นิติบุคคลนั้น เพราะการซื้อขายไฟฟ้า จะทำให้เกิดรายได้ซึ่งกำไรจากการผลิตไฟฟ้านั้นจะได้สิทธิยกเว้นภาษี นอกจากนี้อาจจะมีเงื่อนไขอื่นๆ เช่น ต้องมีการจัดทำมาตราฐานดำเนินงาน เป็นต้น
  • รูปแบบที่ 2 รูปแบบกิจการลงทุนโซล่าเซลล์เพื่อลดค่าไฟฟ้าของตัวเอง รูปแบบนี้เพิ่งออกมาล่าสุด โดยบริษัทที่ในกลุ่มที่ BOI ให้การสนับสนุนลงทุนทำโซล่าเซลล์เองเพื่อลดค่าไฟฟ้า โดยมีสิทธิประโยชน์คือ การลดภาษีเงินได้ของกิจการนั้นโดยที่ไม่ต้องตั้งนิติบุคคลใหม่ให้มีการซื้อขาย โดยจำนวนเงินที่สามารถลดภาษีนั้นคำควณได้จาก 50% ของเงินลงทุน และเอามาลดภาษีได้ภายในเวลาภายใน 3ปี นอกจากนี้ยังสามารถลดภาษีนำเข้า และ VAT เป็น 0% อีกด้วย โดยรูปแบบที่ 2 นี้เหมาะกับกิจการขนาดเล็ก ทำการติดตั้งโซล่าเซลล์ไม่มาก ถ้าเราไปตั้งนิติบุคคลใหม่มีการซื้อขายระหว่างกันก็จะมีความยุ่งยาก อันนี้อยู่ในกิจการเดิมอยู่แล้วแค่ติดตั้งโซล่าเซลล์ แล้วเอาเงินลงทุนของโครงการนี้มาลดภาษีใน statement เดิมของกิจการได้


 

ประเภทสินค้าทั้งหมด