สายกล้องวงจรปิด มีกี่แบบ เลือกแบบไหนให้กล้องใช้ได้นาน

สายกล้องวงจรปิด หรือสายสัญญาณ เป็นอุปกรณ์สำคัญชิ้นหนึ่งที่มีผลต่อการใช้งานกล้องวงจรปิด เพราะถ้าคุณเลือกสายผิด ไม่เหมาะกับกล้องวงจรปิดของคุณ หรือเลือกสายที่มีคุณภาพต่ำ ไม่ทนแดดทนฝน ก็อาจทำให้กล้องวงจรปิดของคุณเสื่อมก่อนอายุการใช้งานจริงๆ ของมันได้ง่ายๆ เลยล่ะครับ วันนี้เราจะมาพูดถึงสายที่ใช้สำหรับกล้องวงจรปิดกันว่ามีกี่แบบ แบบไหนเหมาะกับกล้องของเรามากที่สุดกันครับ

สายกล้องวงจรปิด คืออะไร

เป็นสายรับส่งสัญญาณจากกล้องวงจรปิดไปยังเครื่องบันทึกภาพจากกล้องวงจรปิด สายกล้องวงจรปิดจะมีผลต่อความชัดเจนของเสียงและวิดีโอโดยตรง สายสัญญาณสำหรับกล้องวงจรปิดในปัจจุบันมีทั้งหมด 7 ประเภท ได้แก่ สายโคแอกเชียล, สายสยาม, สายไฟเบอร์ออฟติก, สายไฟแบบ Plug and Play, สายเคเบิลคู่บิด, สาย RG-6 และ RG-59 

สายกล้องวงจรปิดมีกี่แบบ อะไรบ้าง

1. สายโคแอกเชียล (Coaxial Cables)

หรือที่ใครหลายคนรู้จักกันในชื่อ สายโคแอ็กซ์ (Coax) เป็นสายนำสัญญาณที่มีลักษณะเป็นเชือกลวดหรือไฟเบอร์ ส่วนใหญ่มักใช้กับกล้อง วงจรปิดประเภทอนาล็อก ตัวสายประกอบไปด้วยสายทองแดงเป็นแกนกลางสำหรับสัญญาณข้อมูล, ฟรอยด์หุ้มสำหรับกันสัญญาณรบกวน, สายนำสัญญาณกราวด์ สำหรับใช้เป็นเส้นทางกลับร่วมกันของสัญญาณและกำลังไฟฟ้าจากหลายๆ ที่ หรือใช้เป็นจุดเชื่อมต่อกับพื้นดินโดยตรง, ฉนวนสำหรับป้องกันสายสัญญาณไม่ให้ได้รับความเสียหายจากภายนอก 

สายโคแอกเชียลมีข้อดีหลายอย่างทั้งความจุในการถ่ายโอนข้อมูลที่มีถึง 10 เมกะบิต เป็นสายที่ติดตั้งง่าย ใช้เวลาไม่นาน และที่สำคัญราคาไม่แพงหากเทียบกับสายประเภทอื่น นอกจากนี้ตัวสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าจะส่งผ่านภายในตัวนำเท่านั้น จึงไม่เกิดการสูญเสียพลังงาน ผู้ติดตั้งจึงสามารถวางสายชนิดนี้ไว้ใกล้กับวัตถุโลหะได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องสัญญาณรบกวนแต่อย่างใด

สายโคแอกเชียลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สายโคแอ็กซ์แบบบาง (Thin Coaxial Cable) และสายโคแอ็กซ์แบบหนา (Thick Coaxial Cable) โดยสายทั้ง 2 แบบจะใช้หัวเชื่อมชนิดเดียวกันก็คือหัว BNC นอกจากนี้ยังแบ่งออกตามเกรดได้อีก 2 เกรด ได้แก่ สายโคแอ็กซ์เกรด PVC ที่ใช้พลาสติกเป็นวัสดุห่อหุ้ม เนื่องจากมีความยืดหยุ่นสูงจึงเหมาะสำหรับใช้ในสำนักงาน และสายโคแอ็กซ์เกรด Plenum ที่มีความทนทานต่ออุณหภูมิสูง จึงเหมาะสำหรับใช้ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิต่างจากอุณหภูมิห้อง โดยมักจะติดตั้งบริเวณเพดานหรือระหว่างชั้น

2. สายสยาม (Siamese Cables)

หรือสายสยาม RG59 ประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 2 ส่วน ได้แก่ สายโคแอกเซียลสำหรับส่งสัญญาณวิดีโอและสายไฟสำหรับจ่ายไฟฟ้า โดยสายไฟทั้ง 2 เส้นนี้จะถูกผูกเข้าด้วยกันเป็นปลอกเดียว จึงง่ายต่อการติดตั้งและจัดระเบียบ 

สำหรับสายสยามที่พบได้บ่อยที่สุดจะเป็นสายสยาม RG59 ซึ่งเป็นสายโคแอกเซียลมาตรฐานที่ใช้ส่งสัญญาณวิดีโอแบบอนาล็อก มีเส้นผ่านศูนย์กลางที่ค่อนข้างบางประมาณ 0.24 นิ้ว (6.1 มม.) และมีสายไฟที่มัดรวมกับสายโคแอกเซียล RG59 ก็คือสายไฟขนาด 18 AWG (American Wire Gauge) ที่จะช่วยส่งพลังงานที่จำเป็นไปยังกล้องวงจรปิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีความยืดหยุ่น ติดตั้งง่าย และคุ้มต้นทุน จึงทำให้สายประเภทนี้เหมาะสำหรับติดตั้งระบบกล้องวงจรปิดและระบบรักษาความปลอดภัยเป็นหลัก

3. สายไฟเบอร์ออฟติก (Fiber Optic Cable)

หรือที่บางคนรู้จักกันในชื่อ สายใยแก้วนำแสง เป็นสายเคเบิลอีเธอร์เน็ตชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยใยแก้วและพลาสติกโปร่งแสง สายไฟเบอร์ออฟติกมีความจุตั้งแต่ 1Mpbs ไปจนถึง 100Gbps สายใยแก้วนำแสงมีจำนวนหลายชั้น โดยแกนกลางเป็นชั้นในสุดที่ประกอบไปด้วยเส้นใยแก้วที่มีคุณสมบัติสะท้อนแสงได้ดี ส่วนที่ห่อหุ้มผลิตจากแก้วหรือพลาสติกซึ่งอยู่บริเวณรอบแกนกลาง และชั้นบัฟเฟอร์จะผลิตจากพลาสติกซึ่งหุ้มรอบปลอกหุ้มอีกที 

สายไฟชนิดนี้สามารถรับส่งข้อมูลได้มากกว่าคู่สายบิดเกลียวประมาณ 26,000 เท่า ผ่านหลอดแก้วขนาดเล็ก สายไฟเบอร์ออฟติกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สายไฟเบอร์ออฟติกโหมดเดี่ยว (SMF) และสายไฟเบอร์ออฟติกแบบหลายโหมด (MMF) โดยแต่ละแบบจะมีคุณสมบัติและทำหน้าที่แตกต่างกันดังต่อไปนี้

3.1 สายไฟเบอร์ออฟติกโหมดเดี่ยว (SMF) 

เป็นสายเคเบิลใยแก้วนำแสงที่มีแกนขนาด 9 ไมครอน โดยสายประเภทนี้มีจุดเด่นตรงที่ส่งผ่านความยาวคลื่นได้หลายแบบและสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้ากับสายเคเบิลใยแก้วนำแสงเส้นเดียวกันได้ สายประเภทนี้ใช้เครื่องส่งสัญญาณเลเซอร์ที่มีราคาสูงแต่สามารถส่งผ่านได้ไกล 40 กิโลเมตรขึ้นไป ซึ่งจะช่วยให้ส่งข้อมูลได้ไกลกว่าแบบ MMF

3.2 สายไฟเบอร์ออฟติกแบบหลายโหมด (MMF)

เป็นสายเคเบิลใยแก้วนำแสงที่มีแกนขนาด 50 และ 62.5 ไมครอน สายประเภทนี้ใช้เครื่องส่งสัญญาณแบบ LED ซึ่งมีราคาถูกกว่าใยแก้วนำแสงแบบเลเซอร์ แต่ถูกจำกัดในเรื่องของระยะทางที่ข้อมูลสามารถเดินทางไปได้ จึงเหมาะสำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ในอาคารเดียว แต่ทั้งนี้ระยะทางสูงสุดของสายประเภทนี้จะขึ้นอยู่กับความเร็วของแอปพลิเคชันด้วยนะครับ

4. ปลั๊ก แอนด์ เพลย์ (Plug and Play)

เป็นสายสัญญาณเส้นเดียวที่เชื่อมต่อไฟฟ้าและวิดีโอของกล้องวงจรปิดด้วยขั้วต่อ BNC (Bayonet Neill-Concelman) ที่ปลายทั้งสองด้าน เหมาะสำหรับใช้แก้ปัญหาแบบเร่งด่วนไปก่อนจากนั้นค่อยนำสายสัญญาณประเภทอื่นมาแทนที่ 

5. สายคู่บิดเกลียว (Twisted Pair Cables)

หรือที่ใครหลายคนรู้จักกันในชื่อสาย Lan เป็นสายนำสัญญาณที่ประกอบด้วยเส้นลวดทองแดงที่หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก 2 เส้น โดยแต่ละคู่สายจะถูกเข้าหากันเป็นเกลียวเพื่อลดการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงภายในสายเดียวกัน ส่งผลให้ส่งสัญญาณไฟฟ้ากำลังแรงได้ดีและส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูง อีกครั้งสามารถส่งได้ไกลหลายกิโลเมตร เหมาะสำหรับการส่งข้อมูลแบบดิจิตอล สายคู่บิดเกลียวแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 

5.1 สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน หรือ STP (Shielded Twisted Pair)

เป็นสายคู่บิดเกลียวที่ห่อหุ้มด้วยลวดถักชั้นนอกเพื่อป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ารบกวน

5.2 สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน หรือ UTP (Unshielded Twisted Pair)

เป็นสายคู่บิดเกลียวที่มีฉนวนชั้นนอกที่ช่วยให้สายสามารถบิดงอได้แต่ยังคงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ารบกวนได้อยู่ดี เพียงแต่จะน้อยกว่าชนิด STP ส่งผลให้มีราคาขายที่ถูกกว่า

6. RG-6

เป็นสายกล้องวงจรปิดที่ทำจากทองแดงและอลูมิเนียม เนื่องจากสายประเภทนี้ทำงานด้วยความถี่ที่สูงกว่าสายประเภทอื่น จึงเหมาะสำหรับการเพิ่มแบนด์วิดท์ และเหมาะสำหรับการติดตั้งกล้องวงจรปิดที่ใช้ภายในหน่วยงานใหญ่ๆ ของเมือง แต่ไม่เหมาะสำหรับระบบกล้องวงจรปิดภายในอาคาร

7. RG-59

เป็นสายกล้องวงจรปิดที่มีลักษณะใกล้เคียงกับแบบ RG-6 แต่มีความยืดหยุ่นที่สูงกว่า นำสารยานภาพได้ในระยะที่สั้นไม่เกิน 200 เมตร แต่ถูกออกแบบมาสำหรับการใช้งานแบนด์วิดท์ต่ำโดยเฉพาะ และเหมาะสำหรับการติดตั้งกล้องภายในอาคารหรือพื้นที่ขนาดเล็ก

เลือกสายกล้องวงจรปิดอย่างไร ให้เหมาะกับกล้องของเรา

  • เลือกสายกล้องวงจรปิดให้ตรงกับประเภทของกล้อง หากคุณใช้กล้องวงจรปิดแบบดิจิตอลก็ควรใช้สาย LAN หรือสายคู่บิดเกลียว (Twisted Pair Cables) แต่หากใช้กล้องวงจรปิดแบบอนาล็อกก็ควรใช้สายโคแอกเชียล (Coaxial Cables)
  • ตัวนำทองแดงของสายประเภทจะต้องทำจากทองแดงบริสุทธิ์ 95%
  • เลือกสายกล้องวงจรปิดจากแบรนด์ชั้นนำที่ได้มาตรฐาน น่าเชื่อถือ
  • เลือกสายกล้องวงจรปิดที่วางจำหน่ายในราคาตลาด ไม่ถูกจนเกินไป 
  • เลือกสายจากร้านขายอุปกรณ์กล้องวงจรปิดที่มีหน้าร้านอยู่จริง ไม่ควรซื้อร้านขายกล้องวงจรปิดออนไลน์ที่ไม่มีการยืนยันตัวตนหรือมีลักษณะไปในทางของมิจฉาชีพ

หากคุณไม่มั่นใจว่าควรใช้สายกล้องวงจรปิดแบบไหนดี เราขอแนะนำให้สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับทางแบรนด์กล้องวงจรปิดที่คุณซื้อมาหรือหากไม่สะดวกขอแนะนำให้สอบถามกับกลุ่มผู้ซื้อขายกล้องวงจรปิดเพื่อความชัวร์อีกทีนึงครับ จริงอยู่ที่สายพวกนี้ราคาไม่แพงมาก แต่หากคุณซื้อผิดมาก็อาจใช้งานไม่ได้และต้องเสียเวลาไปซื้อใหม่อีกรอบ

บทความที่น่าสนใจ

กล้องวงจรปิดภายในบ้าน ยี่ห้อไหนดี ทำไมต้อง KOWA

V2-ติดตั้งกล้องวงจรปิด-Kowa1200x628.jpg

หากคุณกำลังมองหาแบรนด์กล้องวงจรปิดคุณภาพดีสักตัว เรา KOWA จากบริษัท เจ.อาร์ ออฟฟิต ออโตเมชั่น จำกัด มีความเชี่ยวชาญด้านกล้องวงจรปิดมากว่า 35 ปี มีการติดตั้งจากเรามาแล้วกว่า 2 แสนครัวเรือนทั่วไทย เรามีให้บริการติดตั้งและจัดจำหน่ายระบบกล้องวงจรปิด CCTV ภาพคมชัดสูง ตอบโจทย์การใช้งานทุกรูปแบบทั้งกลางวันและกลางคืน มาพร้อมบริการติดตั้งกล้องวงจรปิดทั้งในและนอกอาคาร ด้วยประสบการณ์ของช่างที่มีมานานกว่า 10 ปี ผ่านการติดตั้งมามากกว่า 2 แสนครัวเรือน ทำให้การติดตั้งเป็นเรื่องง่ายไปเลย เพราะนอกจากจะใช้ระยะเวลาในการติดตั้งไม่นานแล้ว ยังไม่ก่อให้เกิดเสียงดังรบกวนขณะติดตั้งอีกด้วย

นอกจากนี้ทางเรามีกล้องให้เลือกหลากหลายรูปแบบ ทั้งวงจรปิดไร้สาย, กล้องวงจรปิดระบบอนาล็อค, กล้องวงจรปิดระบบอ่านป้ายทะเบียนรถ หรือจะเป็นการติดตั้งกล้องวงจรปิดดูผ่านโทรศัพท์ก็ตาม นอกจากแบรนด์กล้องวงจรปิดของเราเองแล้ว ยังมีกล้องจากแบรนด์ชั้นนำอื่น ๆ ที่เราคัดสรรมาให้อีกด้วยทั้ง Hikvision, Dahua, KOWA CCTV, Uniview และ Xiaomi

ประเภทสินค้าทั้งหมด